เหตุการณ์เมษาเลือด2552




เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักในชื่อ สงกรานต์เลือด เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน พ.ศ. 2552 เหตุการเริ่มขึ้นมาจากการชุมนุมแดงทั้งแผ่นดินสัญจร โดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งมีการออกอากาศทางสถานีประชาธิปไตย ในการชุมนุมแดงทั้งแผ่นดินสัญจรครั้งที่ 5 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติได้ประกาศการชุมนุมแดงทั้งแผ่นดินสัญจรครั้งที่ 6 ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ในวันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552 โดยประกาศเจตนาปักหลักชุมนุมรอบทำเนียบรัฐบาลอย่างยืดเยื้อจนกว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรี จะลาออกจากตำแหน่ง
การชุมนุมดังกล่าวได้มีการยืดเยื้อ จนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบที่ที่จะเกิดขึ้น และมีการปะทะกันของกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารบ่อยครั้ง จนในที่สุดจำเป็นต้องยุติการชุมนุมในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 จนในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศยกเลิกพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตกรุงเทพมหานครนนทบุรี และบางอำเภอของปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา โดยมีผลตั้งแต่เวลา 12.00 น.  เป็นต้นไป

เบื้องหลังเหตุการ์
- การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551
- การชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551
- 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

        ลำดับเหตุการณ์

                                                
26 มีนาคม

ได้มีการจัดการชุมนุมแดงทั้งแผ่นดินสัญจรครั้งที่ 6 เริ่มจากการชุมนุมที่ท้องสนามหลวงและเคลื่อนขบวนมาปักหลักชุมนุมอย่างยืดเยื้อบนถนนรอบทำเนียบรัฐบาล

7 เมษายน

กลุ่มคนเสื้อแดงได้ล้อมรถยนต์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่พัทยา โดยนำรถมอเตอร์ไซต์จอดขวาง แล้วเข้าไปตะโกนด่านายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งมีการขว้างหมวกกันน็อคใส่กระจกด้านหลังรถจนแตกเสียหาย

8 เมษายน

- แกนนำคนเสื้อแดงนำโดย นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อและนายจักรภพ เพ็ญแข ได้ขึ้นบนเวทีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่ออ่านแถลงการณ์ของคนเสื้อแดง โดยตั้งข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1.พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ต้องพิจารณาตัวเองด้วยการลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี

2.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

3.การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การปรับปรุงใด ๆ ให้ดีขึ้นตามหลักสากล ต้องมีการปรึกษาหารือกันระหว่างนักประชาธิปไตยผู้มีประวัติและพฤติกรรมเชิดชูระบอบประชาธิปไตยเป็นที่ประจักษ์

 ซึ่งแกนนำคนเสื้อแดงได้เรียกร้องให้เวลา 24 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นจะมีการยกระดับการชุมนุม

- สื่อต่างชาติ "รอยเตอร์ส" รายงานว่ามีผู้เข้าร่วมชุมนุมในวันนี้ประมาณ 100,000 คน

- เวลา 16.45 น. หลังพ้นกำหนด 24 ชั่วโมงตามที่ได้เรียกร้อง ผูชุมนุมเสื้อแดงได้ทยอยเดินทางชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ และปิดกั้นถนนสำคัญหลายสาย เช่น ถนนรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 9 เมษายน

- เวลา 20.22 น. พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรได้วิดีโอลิงก์มาที่การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยให้กำลังใจกลุ่มคนเสื้อแดงให้ชุมนุมต่อไป

10 เมษายน

ผู้ชุมนุมนำโดยกลุ่มแท๊กซี่ได้ทำการปิดถนนตามแยกต่าง ๆ ภายในกรุงเทพมหานคร และขู่ว่าจะก่อจลาจลในสถานที่ต่าง ๆ รัฐบาลประกาศให้วันที่ 10 เมษายนเป็นวันหยุดราชการ

นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง นำผู้ชุมนุมจากกรุงเทพมหานคร ไปชุมนุมที่พัทยา นายอริสมันต์เจรจากับ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เพื่อขอยื่นหนังสือกับตัวแทนสำนักงานเลขาธิการอาเซียน แล้วจะเดินทางกลับ โดยยืนยันจะไม่ขัดขวางการประชุมในวันที่ 

11 เมษายน

- กลุ่มผู้ชุมนุมจากหน้าทำเนียบรัฐบาล และในจังหวัดชลบุรี นำโดยนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง เคลื่อนการชุมนุมสู่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก เพื่อต่อต้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แต่ถูกอาสาสมัครกลุ่มคนเสื้อน้ำเงินป้องกัน จึงเกิดการปะทะกัน แต่เมื่อมีการเจรจา การปะทะจึงยุติลง ทั้งสองฝ่ายร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีร่วมกัน กลุ่มคนเสื้อแดงจึงเดินเท้าเข้าไปชุมนุมหน้าโรงแรมได้ ต่อมามีการบุกเข้าไปในศูนย์นักข่าว และมีการแถลงข่าวโดยนายอริสมันต์ เพื่อแถลงถึงสาเหตุที่ต้องบุกเข้ามาภายในโรงแรม โดยอ้างว่ามีคนเสื้อแดงถูกคนเสื้อน้ำเงินยิงได้รับบาดเจ็บ และได้เรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการหาตัวผู้กระทำผิด ภายใน 1 ชั่วโมง

- แต่ทว่า รัฐบาลไม่ดำเนินการตามที่กลุ่มคนเสื้อแดงเรียกร้อง จึงได้ทำการบุกเข้ามาในโรงแรม จนทำให้สถานที่ประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกเสียหาย[7] จนรัฐบาลร่วมกับที่ประชุมอาเซียนประกาศเลื่อนการประชุมนานาชาติออกไป และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่เมืองพัทยา และจังหวัดชลบุรี[8] จนกระทั่งส่งผู้นำต่างประเทศกลับเสร็จสิ้น จึงได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

12 เมษายน

- กลุ่มผู้ชุมนุมกลับมารวมตัวที่กรุงเทพมหานคร และเกิดการปิดถนนทั่วกรุงเทพ โดยเริ่มจากนำขบวนแท็กซี่มาปิดบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรองถูกควบคุมตัว แกนนำได้ประกาศบนเวทีว่า ขณะนี้นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรองถูกจับกุมตัว เนื่องจากไปขัดขวางการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก[9] และได้มีรายงานว่านายกรัฐมนตรีกำลังจะประกาศภาวะพระราชบัญญัติบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อสลายการชุมนุม นายกรัฐมนตรีก็ได้ประกาศพระราชบัญญัติบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี บางอำเภอของปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐมและพระนครศรีอยุธยาในวันที่ 12 เมษายน

- หลังจากที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน กลุ่มคนเสื้อแดงได้บุกเข้าไปภายในกระทรวงมหาดไทย ในเหตุการณ์นั้น เจ้าหน้าที่อารักขานายกได้มีการยิงปืนเพื่อปราม เมื่อรถยนต์ของนายกรัฐมนตรีได้ขับรถฝ่าออกไป โดยมีเจ้าหน้าที่คุ้มกัน ผู้ชุมนุมได้เข้าไปแย่งปืนจากเจ้าหน้าที่คนนายหนึ่งและทำร้ายเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ ต่อมามีรถเก่งสีดำพยายามขับไปรอบๆ กระทรวงมหาดไทย แต่ปรากฏว่ารถคันดังกล่าวไปอยู่ท่ามกลางคนเสื้อแดงและได้มีการปาสิ่งของต่าง ๆ จากนั้น การ์ดเสื้อแดงและคนเสื้อแดงได้ลากนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ออกมาจากรถ[10][11] ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่หมายเอาชีวิต[12] [13] ทั้งนี้ นายสุพร อัตถาวงศ์ แกนนำคนเสื้อแดงที่ไปชุมนุมหน้ากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศบนเวทีชุมนุมว่ามีคนเสื้อแดงเสียชีวิต 2 คน โดยอ้างว่าผู้ที่รักษาความปลอดภัยนายกรัฐมนตรียิงและมีการนำตัวเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของนายกรัฐมนตรีมายังหน้าเวที และมีการยึดปืนของเจ้าหน้าที่ไว้และยังอ้างว่าปืนของเจ้าหน้าที่สามารถใช้เก็บเสียงได้ ต่อมาในวันที่ 19 เมษายน 2552 พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.ได้ตั้งข้อหา"พยายามฆ่า" และมีรางวัลนำจับให้ประชาชนที่แจ้งเบาะแสผู้ต้องหารายละ 50,000 บาท ซึ่งผู้ต้องหามีทั้งหมด 20 ราย รวม นายสุพร อัตถาวงศ์

13 เมษายน

- กำลังทหารและตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตา กระสุนจริงและกระสุนฝึกหัดเข้าสลายการชุมนุมที่บริเวณแยกดินแดง จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 70 คน และมีรายงานโดยกลุ่มผู้ชุมนุมเองว่า มีผู้เสียชีวิตจากการเข้าสลายการชุมนุมด้วยซึ่งกองทัพได้ออกมากล่าวในภายหลังว่ามีการยิงกระสุนจริงขึ้นฟ้าแต่ไม่ได้ยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม ทว่า ทางฮิวแมน ไรท์ วอทซ์ได้ยืนยันว่ากองทัพมีการยิงกระสุนจริงเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมจริง

- ในเวลาประมาณ 12.00 น.นายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยนายคำนวณ ชโลปถัมภ์ อดีต ส.ว.สิงห์บุรี ได้เข้ายื่นหนังสือต่อราชเลขาธิการ เรื่อง ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ที่สำนักพระราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีนายอินทร์จันทร์ บุราพันธ์ รองเลขาสำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้รับหนังสือแทน

- ในเวลาประมาณ 16.00 น. สัญญาณภาพจากสถานี D-Station ของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ได้ถ่ายทอดการชุมนุมโดยตลอด ถูกแทนที่ด้วยข้อความบนจอโทรทัศน์ว่า "ขออภัย ทางสถานีดาวเทียมไทยคม มีความจำเป็นต้องตัดสัญญาณ D-Station ตามคำสั่งของรัฐบาลในพ.ร.ก.ฉุกเฉิน

- ในเวลาราว 21.30 น.เกิดเหตุปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับชาวบ้านหลายกลุ่มที่พยายามปกป้องพื้นที่ของตนเองจากผู้ก่อการจลาจลจนมีผู้เสียชีวิต 2 ราย ที่ตลาดนางเลิ้ง และกลุ่มผู้ชุมนุมกล่าวว่ามีผู้ชุมนุมจำนวน 3 คนเสียชีวิต

14 เมษายน

ในเวลาประมาณ 12.00 น.นายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยนายคำนวณ ชโลปถัมภ์ อดีต ส.ว.สิงห์บุรี ได้เข้ายื่นหนังสือต่อราชเลขาธิการ เรื่อง ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ที่สำนักพระราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีนายอินทร์จันทร์ บุราพันธ์ รองเลขาสำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้รับหนังสือแทน

- ในเวลาประมาณ 16.00 น. สัญญาณภาพจากสถานี D-Station ของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ได้ถ่ายทอดการชุมนุมโดยตลอด ถูกแทนที่ด้วยข้อความบนจอโทรทัศน์ว่า "ขออภัย ทางสถานีดาวเทียมไทยคม มีความจำเป็นต้องตัดสัญญาณ D-Station ตามคำสั่งของรัฐบาลในพ.ร.ก.ฉุกเฉิน

- ในเวลาราว 21.30 น.เกิดเหตุปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับชาวบ้านหลายกลุ่มที่พยายามปกป้องพื้นที่ของตนเองจากผู้ก่อการจลาจลจนมีผู้เสียชีวิต 2 ราย ที่ตลาดนางเลิ้ง และกลุ่มผู้ชุมนุมกล่าวว่ามีผู้ชุมนุมจำนวน 3 คนเสียชีวิต

- แกนนำประกาศยุติการชุมนุมบนถนนรอบทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. เพื่อป้องกันการสูญเสียที่จะเพิ่มขึ้นจากการปราบปรามของรัฐบาล จากนั้นแกนนำ 5 คน คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายแพทย์เหวง โตจิราการ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายสุพร อัตถาวงศ์ได้เข้ามอบตัวต่อ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และนับเป็นการยุติเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าวจากนั้น แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงถูกส่งตัวมายังกองบัญชาการตำรวจนครบาล

- ในช่วงบ่าย มีการออกหมายจับแกนนำ 14 คน ประกอบด้วย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายจักรภพ เพ็ญแข นายอดิศร เพียงเกษ นพ.เหวง โตจิราการ นายธีรพงษ์ พริ้งกลาง นายณรงค์ศักดิ์ มะณี นายชินวัฒน์ หาบุญพาด พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ และนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง

- ทหารจัดรถโดยสารนำส่งผู้ร่วมชุมนุมที่สมัครใจเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนา บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า การส่งผู้ชุมนุมกลับภูมิลำเนาเป็นไปอย่างเรียบร้อย แต่มีผู้ชุมนุมบางส่วนที่ไม่ต้องการสลายการชุมนุมได้ปักหลักอยู่บริเวณแยกวังแดง และได้เคลื่อนขบวนไปรวมตัวกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ท้องสนามหลวง

จนกระทั่ง 24 เมษายน

พ.ศ. 2552 ได้มีการยกเลิก พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในตอนเย็นวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552 กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ รุ่น 2 นำโดยนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นำคนเสื้อแดงชุมนุมบริเวณท้องสนามหลวง และนัดเดินสาย 5 จังหวัด ก่อนรวมพลใหญ่ที่กรุงเทพมหานครอีกครั้ง โดยใช้ฤกษ์พฤษภาทมิฬ 17-20 พ.ค. 


ความจริง13เมษายน คลิปเหตุการณ์จริง เมษาเลือด2552


ความจริงวันที่ 13 เมษายน 52 สงกรานต์เลือด จากเหตุการณ์นี้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมากไม่มีการรายงานผู้เสียชีวิตจากทุกสื่อ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ยืนยันว่า ทหารขนศพขึ้นรถมากกว่า10ศพ ขณะนี้มีผู้ยอดสูญหาย ประมาณ100คน ขออุทิศให้วีรชนผู้กล้าที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์13 เมษายน 2552 และนักสู้นิรนามทุกคน


                                             


        
       โปรดชมและเปิดใจรับข้อมูลอย่างเป็นกลางและไม่มีอคติ